เมื่อวันที่ 24 ก.ย. ประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 41/2565 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ติดตามประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุดีเปรสชันบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกได้ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “โนรู (NORU)” คาดว่าพายุนี้จะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ในช่วงวันที่ 27 – 28 กันยายน 2565 ส่งผลทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรงในช่วงวันที่ 27 – 29 กันยายน 2565 และ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย
ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ทั้งนี้ กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) พบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ ในช่วงวันที่ 27 กันยายน – 2 ตุลาคม 2565 ดังนี้
1. เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก และน้ำท่วมขัง ดังนี้
1.1 ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอฮอด จอมทอง ดอยหล่อ ดอยเต่า และแม่วาง)
จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อำเภอสบเมย และแม่สะเรียง)
จังหวัดลำปาง (อำเภอห้างฉัตร เกาะคา เสริมงาม เมืองลำปาง และสบปราบ)
จังหวัดลำพูน (อําเภอเวียงหนองล่อง ป่าซาง แม่ทา และป่าซาง)
จังหวัดกำแพงเพชร (อำเภอปางศิลาทอง และคลองลาน)
จังหวัดตาก (อำเภอพบพระ อุ้มผาง และแม่สอด)
จังหวัดแพร่ (อำเภอวังชิ้น ลอง และเด่นชัย)
จังหวัดอุตรดิตถ์ (อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ลับแล และทองแสนขัน)
จังหวัดพิษณุโลก (อำเภอนครไทย วัดโบสถ์ และชาติตระการ)
จังหวัดนครสวรรค์ (อำเภอแม่วงก์)
จังหวัดอุทัยธานี (อำเภอบ้านไร่)
จังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอหล่มสัก เมืองเพชรบูรณ์ บึงสามพัน และวิเชียรบุรี)
1.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดชัยภูมิ (อำเภอคอนสาร เกษตรสมบูรณ์ และหนองบัวแดง)
จังหวัดขอนแก่น (อำเภอภูผาม่าน และภูเวียง)
จังหวัดนครราชสีมา (อำเภอเสิงสาง ปักธงชัย ครบุรี วังน้ำเขียว โชคชัย ปากช่อง หนองบุญมาก สูงเนิน สีคิ้ว และเมืองนครราชสีมา)
จังหวัดบุรีรัมย์ (อำเภอบ้านกรวด ประโคนชัย ละหานทราย เฉลิมพระเกียรติ พลับพลาชัย โนนดินแดง ปะคำ นางรอง กระสัง โนนสุวรรณ หนองกี่ เมืองบุรีรัมย์ และชำนิ)
จังหวัดสุรินทร์ (อำเภอพนมดงรัก สังขะ บัวเชด พนมดงรัก ปราสาท กาบเชิง ลำดวน ศรีณรงค์ ศีขรภูมิ เขวาสินรินทร์ และเมืองสุรินทร์)
จังหวัดศรีสะเกษ (อำเภอขุขันธ์ ภูสิงห์ ไพรบึง ปรางค์กู่ ขุนหาญ วังหิน และกันทรลักษ์)
1.3 ภาคกลาง จังหวัดสิงห์บุรี (อำเภอพรหมบุรี บางระจัน และท่าช้าง)
จังหวัดอ่างทอง (อำเภอเมืองอ่างทอง แสวงหา ไชโย วิเศษชัยชาญ และโพธิ์ทอง)
จังหวัดลพบุรี (อำเภอลำสนธิ และพัฒนานิคม)
จังหวัดสระบุรี (อำเภอเมือง แก่งคอย หนองแซง หนองแค พระพุทธบาท เสาไห้ และเฉลิมพระเกียรติ)
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (อำเภอผักไห่ เสนา บางบาล บางปะหัน พระนครศรีอยุธยา นครหลวง ภาชี และท่าเรือ)
จังหวัดนครปฐม (อำเภอกำแพงแสน และบางเลน)
จังหวัดสุพรรณบุรี (อำเภอด่านช้าง และเดิมบางนางบวช)
จังหวัดกาญจนบุรี (อำเภอสังขละบุรี และหนองปรือ)
จังหวัดราชบุรี (อำเภอเมืองราชบุรี บ้านโป่ง ปากท่อ สวนผึ้ง และบ้านคา)
รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
1.4 ภาคตะวันออก จังหวัดนครนายก (อำเภอปากพลี) จังหวัดสระแก้ว (อำเภอตาพระยา โคกสูง อรัญประเทศ วัฒนานคร และคลองหาด)
จังหวัดระยอง (อำเภอเมืองระยอง แกลง วังจันทร์ และบ้านค่าย)
จังหวัดจันทบุรี (อำเภอขลุง แหลมสิงห์ ท่าใหม่ เมืองจันทบุรี เขาคิชฌกูฏ โป่งน้ำร้อน และนายายอาม)
จังหวัดตราด (อำเภอเกาะกูด คลองใหญ่ เมืองตราด บ่อไร่ เกาะช้าง แหลมงอบ และเขาสมิง)
1.5 ภาคใต้ จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง กระบุรี ละอุ่น กะเปอร์ และสุขสำราญ)
จังหวัดพังงา (อำเภอเมืองพังงา กะปง ท้ายเหมือง ตะกั่วป่า และตะกั่วทุ่ง)
จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต และถลาง)
จังหวัดนครศรีธรรมราช (อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ท่าศาลา และปากพนัง)
จังหวัดนราธิวาส (อำเภอศรีสาคร จะแนะ และสุคิริน)
2. เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่ง บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขา ของแม่น้ำสาย แม่น้ำกก แม่น้ำวัง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย แม่น้ำเลย แม่น้ำชี ลำน้ำเชิญ ลำน้ำพรหม ลำน้ำพอง แม่น้ำมูล แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำตราด
3. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการเก็บกักน้ำสูงสุด (Upper Rule Curve) 13 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล จังหวัดเชียงใหม่ อ่างเก็บน้ำแม่มอก และกิ่วคอหมา จังหวัดลำปาง อ่างเก็บน้ำทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี อ่างเก็บน้ำกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี อ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น อ่างเก็บน้ำลำตะคอง ลำพระเพลิง และมูลบน จังหวัดนครราชสีมา อ่างเก็บน้ำขุนด่านปราการชล จังหวัดนครนายก อ่างเก็บน้ำคลองสียัด จังหวัดฉะเชิงเทรา อ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา จังหวัดปราจีนบุรี และอ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี รวมทั้งอ่างฯขนาดเล็กและขนาดกลางที่มีปริมาตรน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่ด้านท้ายน้ำทั่วประเทศ
ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้
1. ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ
2. ติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำ และเร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ พร้อมวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม โดยปรับแผนระบายน้ำจากเขื่อนและประตูระบายน้ำ เพื่อพร่องน้ำและบริหารพื้นที่ลุ่มต่ำให้เป็นแก้มลิงหน่วงน้ำ เพื่อลดผลกระทบจากมวลน้ำที่จะไหลหลากมายังบริเวณพื้นที่เสี่ยง
3. เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที
4. ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์