“แอนโตนิโอ กูเตอร์เรส” เลขาธิการองค์การสหประชาชาติหรือ UN บอกว่า ภายใน 5 ปีข้างหน้า ทุกประเทศบนโลกควรมี ระบบเตือนภัยพิบัติ เพื่อรองรับสภาพอากาศสุดขั้ว ซึ่งถ้าหากระบบสามารถเตือนภัยล่วงหน้าได้เพียง 24 ชั่วโมงก็ จะช่วยลดความเสียหายได้มากถึง 1 ใน 3 เลยทีเดียว”
ทุกวันนี้หลายประเทศเจอกับปัญหาสภาพอากาศสุดขั้ว หรือ extreme weather กันบ่อยขึ้น ซึ่งก็คือ ความแปรปรวนของสภาพอากาศที่ทำให้เกิดอากาศร้อนจัด หนาวจัด พายุรุนแรงหรือฝนตกหนักผิดปกติ สาเหตุก็มาจากภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั่นเอง แอนโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการองค์การสหประชาชาติหรือ UN บอกว่า ภายใน 5 ปีข้างหน้า ทุกประเทศบนโลกควรมี ระบบเตือนภัยพิบัติ เพื่อรองรับสภาพอากาศสุดขั้ว ซึ่งถ้าหากระบบสามารถเตือนภัยล่วงหน้าได้เพียง 24 ชั่วโมงก็ จะช่วยลดความเสียหายได้มากถึง 1 ใน 3 เลยทีเดียว แต่ในปัจจุบันนี้ ยังมีประชากรทั่วโลกกว่า 1 ใน 3 และประชากรในแอฟริกากว่า 6 ใน 10 ที่ยังขาดระบบเตือนภัยพิบัติ โดยระบบเตือนภัยเหล่านี้ อาจจะส่งเป็นข้อความผ่านทางโทรศัพท์มือถือ เตือนเกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นในแต่ละพื้น ให้มีประสิทธิภาพ แม่นยำ และรวดเร็ว องค์การสหประชาชาติยังให้ข้อมูลว่า ทุกวันนี้ หลายประเทศนำเงินไปใช้ในการลดก๊าซเรือนกระจก มากกว่า การเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ ซึ่งความจริงแล้ว ควรจะให้ความสำคัญในระดับที่เท่าๆกัน ทาง UN จึงขอความร่วมมือจากทางองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก วางแผนและดำเนินการ เพื่อให้ทั่วโลกมีระบบเตือนภัยที่ครอบคลุมรองรับสภาพอากาศสุดขั้วได้ ซึ่งก็จะมีการประชุมกันในการประชุมสุดยอด COP27 ที่จะจัดขึ้นที่อียิปต์ ในเดือนพฤศจิกายนนี้ค่ะ ผู้คนทั่วโลกจะได้มีความพร้อมและสามารถรับมือกับภัยพิบัติได้อย่างทันท่วงที ลดความเสียหายจากภัยพิบัติได้