อธิบดีกรมชลประทาน เผยระดับน้ำในแม่น้ำ “เจ้าพระยา” เริ่มแนวโน้นดีขึ้น หลังน้ำเหนือลด และฝนไม่ตกเพิ่ม ขณะที่เเม่น้ำน้อย อาจได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อย เนื่องจากมีการผันน้ำเข้าทุ่งบางระกำ เเละทุ่งฝั่งตะวันออก และตะวันตก
นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวภายหลังบรรยายสรุปสถานการณ์น้ำในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำ “เจ้าพระยา“ ให้กับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และคณะ ที่ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยนายกฯ สั่งทุกหน่วยงานเฝ้าระวังและช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่
ทั้งนี้ นายประพิศ ระบุว่า ขณะนี้สถานการน้ำเหนือจากนครสวรรค์ เริ่มลดลลงเเล้ว ปริมาณน้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำ “เจ้าพระยา” ที่จังหวัดนครสวรรค์ ปัจจุบัน(15ก.ย.64) มีปริมาณน้ำไหลผ่านที่สถานีวัดน้ำ C.2 อ.เมืองนครสวรรค์ ในเกณฑ์ 1,864 ลบ.ม./วินาที หลังจากที่ไหลผ่านสูงสุดถึง1,900 ลบ.ม./วินาที ขณะนี้ได้ผันน้ำเข้าระบบชลประทานทั้ง 2 ฝั่งรวม 500ลบ.ม./วินาที
พร้อมปรับปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อน “เจ้าพระยา” ให้อยู่ในเกณฑ์ 1,423 ลบ.ม./วินาที เพื่อควบคุมระดับน้ำหน้าเขื่อนเจ้าพระยาอยู่ที่ +16.50 ม.(รทก.) ส่งผลให้พื้นที่บริเวณลุ่มต่ำริมแม่น้ำน้อยนอกคันกั้นน้ำ ตำบลบ้านกระทุ่ม ตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา และตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันประมาณ 0.75 เมตร ในช่วงวันที่ 15 – 18 กันยายน 2564 เเละหากมีแนวโน้มว่าจะมีปริมาณน้ำหลากเพิ่มขึ้น จะแจ้งให้ทราบต่อไป
ส่วนกรณีในช่วงครึ่งเดือนหลังเดือนกันยายน จนถึงเดือนตุลาคม ร่องมรสุมจะลงมาแช่อยู่ภาคกลาง โดยจะส่งผลทำให้ภาคกลาง มีปัญหาเรื่องสถานการณ์น้ำหรือไม่นั้น เรื่องนี้ต้องมีการวิเคราะห์ กำหนดพื้นที่เสี่ยง เเละเตรียมเครื่องมือ เครื่องจักร เพื่อลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นแล้ว “เจ้าพระยา”
ส่วนความกังวลสถานการณ์น้ำ จะรุนเเรงเหมือนปี54 หรือไม่นั้น เรื่องนี้ขอยืนยันว่า สถานการณ์ต่างกัน เพราะปี54 มีพายุห้าลูก น้ำในเขื่อนเยอะ เเต่วันนี้เรามีน้ำในเขื่อนไม่มาก ค่อนข้างต่างกันมาก เเต่กรมชลประทาน ก็ไม่ประมาท ได้มีการเตรียมความพร้อมทั้งในเรื่องคน เครื่องมือ เตรียมรับมืออย่างเต็มที่ “เจ้าพระยา”
อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวอีกว่า ขณะนี้ได้มีการควบคุมการระบายน้ำผ่านเขื่อน “เจ้าพระยา” ให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ พร้อมจัดการน้ำอย่างเต็มศักยภาพของพื้นที่ ไม่ให้มีผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตร พร้อมประสานผู้ว่าราชการจังหวัด 11 จังหวัด ในลุ่มน้ำ “เจ้าพระยา” ตอนล่าง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำการประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชนให้ทราบถึงสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนให้ได้มากที่สุด