- “ลองโควิด” ภาวะแทรกซ้อนหลังป่วยโควิด-19 อาการที่ผู้ติดเชื้อต้องเผชิญหลังหายป่วย แม้บางคนอาจจะเป็นคนที่ร่างกายแข็งแรงก็ตาม
- กทม. เตรียมเปิดคลินิก Long COVID ใน รพ. 9 แห่ง (เริ่ม 9 พ.ค. 65) โดยผู้ป่วยที่จะเข้ามารับการรักษานั้นต้องหายป่วยมากกว่า 1 เดือนขึ้นไป
- การรักษานั้น ครอบคลุมตั้งแต่การให้คำปรึกษา ตรวจประเมิน การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือตรวจพิเศษ การวินิจฉัย การดูแลรักษา ติดตามอาการ และการส่งต่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (กรณีจำเป็น)
แม้หลายคนจะเริ่มปรับตัวได้กับโรค “โควิด-19” เนื่องจากวัคซีนในประเทศเริ่มมีเพียงพอ หากป่วยก็รักษาตามอาการ แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีคนอีกไม่น้อยที่กังวลกับภาวะ “ลองโควิด” (Long COVID) หรือภาวะแทรกซ้อนหลังป่วยโควิด-19 ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยอาจเผชิญหลังจากติดเชื้อ ส่วนมากตั้งแต่ 3 เดือน นับจากวันตรวจพบเชื้อ และมีอาการต่อเนื่องอย่างน้อย 2 เดือน ซึ่งเกิดขึ้นได้ในทุกคน แม้จะมีร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว โดยอาการดังกล่าวเกิดขึ้นได้หลายระบบ และอาการที่เกิดขึ้นไม่สามารถอธิบายได้ด้วยการวินิจฉัยสาเหตุอื่นๆ
สำหรับอาการของ ลองโควิด กรมการแพทย์ พบว่า 10 อันดับแรกที่สามารถเจอได้คือ
- อ่อนเพลีย
- หายใจลำบาก หอบเหนื่อย
- ไอ
- นอนไม่หลับ
- ปวดศีรษะ
- ผมร่วง
- เวียนศีรษะ
- วิตกกังวล เครียด
- ความจำสั้น
- เจ็บหน้าอก
สำหรับการตรวจรักษาอาการลองโควิดนั้น พบว่า โรงพยาบาลหลายแห่งได้เปิดโปรแกรมตรวจรักษาสำหรับผู้ที่เคยติดเชื้อโควิดมาก่อน ซึ่งราคาค่าตรวจนั้นก็มีราคาตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป แล้วแต่โปรแกรมการตรวจ
สำหรับการรักษาอาการลองโควิดนั้น แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการ คือ
- กลุ่มที่มีอาการ และมีความผิดปกติของอวัยวะ เช่น มีอาการเหนื่อย และตรวจพบเนื้อปอดมีพังผืด เส้นเลือดอุดตัน หัวใจอักเสบ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ ต้องเข้ารักษาในระบบ และติดตามอาการในระยะยาว
- กลุ่มที่มีอาการ แต่ไม่พบความผิดปกติของอวัยวะ เช่น มีอาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ขาดสมาธิ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ แพทย์จะรักษาตามอาการ และให้ข้อแนะนำเรื่องการฟื้นฟู และการปรับพฤติกรรม เพื่อช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
สำหรับการตรวจรักษาอาการลองโควิดนั้น พบว่า โรงพยาบาลหลายแห่งได้เปิดโปรแกรมตรวจรักษาสำหรับผู้ที่เคยติดเชื้อโควิดมาก่อน ซึ่งราคาค่าตรวจนั้นก็มีราคาตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป แล้วแต่โปรแกรมการตรวจ
สำหรับการรักษาอาการลองโควิดนั้น แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการ คือ
- กลุ่มที่มีอาการ และมีความผิดปกติของอวัยวะ เช่น มีอาการเหนื่อย และตรวจพบเนื้อปอดมีพังผืด เส้นเลือดอุดตัน หัวใจอักเสบ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ ต้องเข้ารักษาในระบบ และติดตามอาการในระยะยาว
- กลุ่มที่มีอาการ แต่ไม่พบความผิดปกติของอวัยวะ เช่น มีอาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ขาดสมาธิ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ แพทย์จะรักษาตามอาการ และให้ข้อแนะนำเรื่องการฟื้นฟู และการปรับพฤติกรรม เพื่อช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
กทม. เตรียมเปิดคลินิก Long COVID
สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่มองหาทางเลือกการตรวจรักษาในโรงพยาบาลของรัฐบาลนั้น สำนักการแพทย์ ได้เตรียมเปิดคลินิกรักษาผู้ป่วย Long COVID เพื่อดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ที่พ้นระยะเฉียบพลัน และยังคงมีอาการผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกาย ครอบคลุมการให้คำปรึกษา การตรวจประเมิน การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือตรวจพิเศษ การวินิจฉัย การดูแลรักษา ติดตามอาการ และการส่งต่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (กรณีจำเป็น) ในรูปแบบการให้บริการแบบผู้ป่วยนอก (Onsite และ Online Telemedicine)
สำหรับคุณสมบัติผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในคลินิก Long COVID จะต้องเป็นผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายป่วยมากกว่า 1 เดือนขึ้นไป การให้บริการจะเน้นไปทางติดตามอาการที่เกิดหลังจากหายป่วยโควิด-19
โดยผู้ป่วยสามารถรับบริการผ่าน 2 ช่องทาง คือ
1. ผู้ป่วยมาเข้ารับบริการที่คลินิกปกติ และแพทย์วินิจฉัยอาการที่เข้าได้กับ Long COVID และส่งผู้ป่วยมาที่คลินิกดังกล่าว
2. ผู้ป่วยที่สงสัยอาการตนเอง และเข้ามารับบริการที่คลินิก Long COVID โดยตรง รูปแบบการให้บริการแบบ One stop service จัดให้มีการบริการคัดกรอง พบแพทย์ในจุดเดียว กรณีที่ต้องมีการปรึกษาจิตแพทย์ จะให้มีการทำแบบสอบถามเพื่อประเมินความเสี่ยงทางด้านสุขภาพจิตก่อนเข้าพบแพทย์
เริ่มให้บริการ 9 พ.ค. 65
โดยผู้ป่วยสามารถรับบริการได้ที่โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ทั้ง 9 แห่ง คือ
1. โรงพยาบาลกลาง ณ คลินิกประกันสุขภาพ ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.00-16.00 น.
2. โรงพยาบาลตากสิน ณ ARI Clinic ทุกวันจันทร์ เวลา 13.00-16.00 น.
3. โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ณ คลินิกอายุรกรรม ทุกวันพุธ เวลา 13.00-16.00 น.
4. โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ ณ คลินิกอายุรกรรม ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.00-16.00 น.
5. โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ ณ คลินิกอายุรกรรม ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.00-16.00 น.
6. โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร ณ คลินิกอายุรกรรม ทุกวันอังคาร เวลา 08.00-12.00 น.
7. โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ณ ARI Clinic ทุกวันพุธ เวลา 13.00-16.00 น.
8. โรงพยาบาลสิรินธร ณ คลินิกวัณโรค ทุกวันอังคาร เวลา 08.00-12.00 น.
9. โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน ณ คลินิกผู้ป่วยนอก ทุกวันพุธ 13.00-16.00 น.
โดยคลินิกจะเปิดให้บริการ 1 วันต่อสัปดาห์เท่านั้น เริ่มเปิดตั้งแต่ 9 พ.ค. 65 เป็นต้นไป
ทำการนัดหมายรับบริการผ่าน BFC ของโรงพยาบาลทั้ง 9 แห่ง และขยายช่องทางให้บริการตรวจรักษาผ่านระบบ telemedicine ในแอปพลิเคชัน “หมอ กทม.” เพื่อรองรับการให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครผ่านการเบิกจ่ายค่ารักษาตามสิทธิ
โดยเปิดคลินิก 1 วัน/สัปดาห์ เริ่มเปิดให้บริการในวันที่ 9 พ.ค. 65 เป็นต้นไป ในวันและเวลาราชการ
ผู้เขียน : เจ๊ดา วิภาวดี
กราฟิก : Jutaphun Sooksamphun