เช็คด่วนอัพเดท หลักเกณฑ์ใหม่ “ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” รอบใหม่ คนเก่า-คนใหม่ เตรียมตัวเช็คเงื่อนไขและขั้นตอน

กลายเป็นกระแสความสนใจของประชาชน กรณีจะเปิด ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือบัตรคนจน รอบใหม่ ซึ่งอยู่ระหว่างวางหลักเกณฑ์ หลังนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กระทรวงการคลังทบทวนโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ช่วยเหลือประชาชนทุกกลุ่มที่ได้รับความเดือดร้อนให้ทั่วถึง

สำหรับการลงทะเบียนรอบใหม่ มีเงื่อนไขเบื้องต้น ดังนี้

1. เปิดให้ผู้ที่ไม่เคยได้รับสิทธิ์เข้ามาลงทะเบียน 
2. จะมีกลุ่มตกหล่นจากมาตรการของรัฐที่ผ่านมาที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ เช่น กรณีไม่มีสมาร์ทโฟน สามารถเข้าร่วมบัตรคนจนได้อีกกว่า 2 ล้านราย 
3. ผู้ที่ได้รับสิทธิ์เดิมมีจำนวน 13.65 ล้านคน ก็ยังต้องมาลงทะเบียนใหม่ เพราะกระทรวงการคลังจะมีการปรับเงื่อนไขผู้ได้รับสิทธิ์ ให้มีความเหมาะสมมากขึ้น เกณฑ์การลงทะเบียนรอบใหม่

ผู้สมัครบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

– มีสัญชาติไทยอายุ 18 ปีขึ้นไป
– ว่างงานหรือมีรายได้ส่วนตัวไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
– ไม่มีทรัพย์สินทางการเงิน (เงินฝากธนาคาร,สลากออมสิน, สลากธ.ก.ส.,พันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ ) ถ้ามีทรัพย์สินดังกล่าวจะต้องมีรวมกันไม่เกิน 100,000 บาท
– รายได้ต่อครัวเรือน จะนำมาพิจารณา

ลงทะเบียนมีขั้นตอน ดังนี้

1. ธนาคาร  ธกส.,ออมสิน,กรุงไทย
2.แสดงบัตรประชาชน
3.กรอกแบบฟอร์มแจ้งข้อมูลส่วนตัว รายได้ ทรัพย์สิน และหนี้สินของตน
4.เก็บหลักฐานไว้เพื่อยืนยันการลงทะเบียน

อัพเดท ลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เงื่อนไขและขั้นตอน เช็คด่วนหลักเกณฑ์ใหม่

ล่าสุด กระทรวงการคลัง เตรียมเปิดลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่ เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้มีรายได้น้อย ที่ยังไม่เคยได้รับสิทธิ ให้สามารถเข้ามาสมัครได้ ส่วนกลุ่มเดิมที่มีบัตรสวัสดิการฯ อยู่แล้วจะต้องเข้าร่วมคัดกรองคุณสมบัติใหม่เพื่อรับสิทธิได้เช่นกัน

ขณะเดียวกัน จะปรับคุณสมบัติใหม่ให้รัดกุมยิ่งขึ้น เพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้มีรายได้น้อยตัวจริง และป้องกันการแอบอ้างสิทธิ เช่น ปรับเกณฑ์รายได้ขั้นต่ำจากเดิมกำหนดไว้คนละไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี ให้ใช้เป็นเกณฑ์รายได้ครัวเรือนแทน รวมถึงจะนำทรัพย์สินมาเป็นเกณฑ์พิจารณาด้วย เช่น บ้าน ที่ดิน หรือสลากออมทรัพย์ต่าง ๆ

ส่วนระยะเวลาการเปิดลงทะเบียน จะดูความเหมาะสมกับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อลดการรวมกลุ่มในช่วงการลงทะเบียน และเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค