7 พฤษภาคม “วันพาสเวิร์ดโลก” ก่อตั้งขึ้น! ให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญในการปกป้องข้อมูล

วันพาสเวิร์ดโลก ตรงกับวันที่ 7 พฤษภาคมของทุกปี ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญในการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของตัวเองด้วยพาสเวิร์ด

รู้หรือไม่ ทุกวันที่ 7 พฤษภาคมเป็น วันพาสเวิร์ดโลก ซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญในการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของตัวเองด้วยพาสเวิร์ด

รหัสผ่าน (Password) คือ สายอักขระหรือคำที่เป็นความลับที่ใช้สำหรับยืนยันตัว พิสูจน์ความเป็นเจ้าของ หรือเข้าถึงแหล่งข้อมูล รหัสผ่าน ควรจะเก็บเป็นความลับเพื่อไม่ให้คนอื่นเข้าถึงได้ การใช้รหัสผ่านตั้งแต่โบราณ ในลักษณะการผ่านด่านทหารองครักษ์ เพื่อเข้าไปในบริเวณ โดยต้องให้รหัสผ่านหรือคำสัญลักษณ์ ทหารองครักษ์จะอนุญาตให้คนหรือกลุ่มคนผ่านเข้าไปได้หากพวกเขารู้รหัสผ่าน 

ขณะที่ในยุคสมัยใหม่ ใช้ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านในการเข้าสู่ระบบของคอมพิวเตอร์ที่มีระบบป้องกันโทรศัพท์มือถือ เครื่องถอดรหัสเคเบิลทีวี สำหรับการใช้รหัสผ่านในคอมพิวเตอร์ทั่วไป มีหลายจุดประสงค์ เช่น การเข้าใช้ชื่อบัญชี การรับอีเมลล์ การเข้าถึงแอปพลิเคชัน ฐานข้อมูล เครือข่าย เว็บไซต์ หรือแม้แต่อ่านหนังสือพิมพ์ออนไลน์

รหัสผ่าน อาจจะเป็นคำที่ไม่มีอยู่จริง รหัสผ่านที่ไม่เป็นคำจะยากต่อการเดา รหัสผ่านอาจจะเป็นการนำคำหลายคำมารวมกัน ส่วนคำว่า พาสโคด (passcode) ใช้กับข้อมูลลับที่เป็นตัวเลขล้วน อย่างเช่น รหัสลับบุคคล (PIN) ที่ใช้ในการเข้าถึงเอทีเอ็ม รหัสผ่านโดยทั่วไป มักจะตั้งขึ้นให้สั้นเพียงพอที่ง่ายต่อการจำและพิมพ์

อย่างไรก็ตาม องค์กรส่วนใหญ่จะระบุนโยบายรหัสผ่านที่กำหนดความต้องการสำหรับการตั้งรหัสผ่าน เช่น การกำหนดความยาวขั้นต่ำ ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่-พิมพ์เล็ก ตัวเลข และอักขระพิเศษ บางสิ่งที่ต้องห้าม เช่น ชื่อตนเอง วันเกิด ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ 

จุดอ่อนของรหัสผ่าน คืออะไร 

รหัสผ่าน สามารถถูกเจาะได้ด้วยหลากหลายวิธีเช่น การใช้พจนานุกรมเพื่อเจาะรหัสผ่านที่ตั้งโดยใช้คำในพจนานุกรม นอกจากนี้ รหัสผ่านอาจถูกเจาะด้วยการสุ่มรหัสผ่านไปทีละตัว ซึ่งหากรหัสที่ตั้งไว้สั้นหรือง่ายเกินไป ก็สามารถถูกเจาะได้ ซึ่งหากมีผู้ไม่หวังดีทราบข้อมูลส่วนตัวของผู้ตั้งรหัสผ่านก็อาจนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ประกอบการเจาะรหัสผ่านได้ด้วย

รูปแบบอื่นของรหัสผ่าน มีอะไรบ้าง

1. One-time password หรือรหัสผ่านแบบใช้ครั้งเดียว

2. การตรวจพิสูจน์บุคคล

3. รหัสผ่านที่ไม่ใช้ข้อความ เช่น การล็อกระบบด้วยรูปภาพ

การรักษาความปลอกภัยสำหรับการเข้าสู่ระบบ  

1. สลับไปใช้วิธีการระบุตัวต้นแบบไบโอเมตริกซ์ 

2. เปิดระบบการแจ้งเตือนอัตโนมัติ

3. ใช้เครื่องมือจัดการพาสเวิร์ดเพื่อจัดการและสร้างรหัสผ่านที่ซับซ้อนและรัดกุมมากขึ้น

ที่มาข้อมูล : wikipedia

ที่มาภาพ : AFP