เที่ยวเขื่อนกับพี่มั้ย? รวมภาพวิวทิวทัศน์-เขื่อนสุดสวย ใกล้กรุงเทพฯ 

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ PZnhTOtr5D3rd9oc9MO0A4vMVqWWGZmCo6n6YZevSVAmJte.jpg

เขื่อนและอ่างเก็บน้ำที่มีอยู่ทั่วประเทศกว่าร้อยละ 90 เกิดขึ้นจากโครงการในพระราชดำริฯ เพื่อทำหน้าที่กักเก็บน้ำ โดยเก็บน้ำจากช่วงฤดูน้ำหลาก และปล่อยน้ำใช้ในการเกษตรกรรม อุปโภค บริโภค ในช่วงขาดแคลนน้ำ เขื่อนยังคงใช้สำหรับป้องกันน้ำท่วมฉับพลันในฤดูที่น้ำไหลหลาก โดยเขื่อนจะทำหน้าที่ชะลอความเร็วของน้ำ ให้น้ำไหลผ่านได้เฉพาะตามปริมาณที่เหมาะสม ในปัจจุบันเขื่อนมีหน้าที่หลักอีกด้านคือการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยพลังงานไฟฟ้าส่วนหนึ่งในประเทศไทยมาจากการปั่นไฟจากเขื่อน นอกจากนี้เขื่อนบางแห่งใช้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและกิจกรรมนันทนาการต่างๆ 

เขื่อนเก็บกักน้ำที่สร้างกันโดยทั่วไปมีหลายประเภท หลายขนาดแตกต่างกัน เขื่อนเก็บกักน้ำขนาดใหญ่บางแห่งอาจจะให้ประโยชน์ได้หลายด้าน เช่น การผลิตไฟฟ้า การชลประทาน การคมนาคม การบรรเทาอุทกภัย และการเพาะเลี้ยงปลาในอ่างเก็บน้ำ เป็นต้น ซึ่งเรียกว่า “เขื่อนอเนกประสงค์” ได้แก่ เขื่อนภูมิพล ที่จังหวัดตาก เขื่อนสิริกิติ์ ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ และ เขื่อนอุบลรัตน์ ที่จังหวัดขอนแก่น เป็นต้น สำหรับวัสดุที่จะใช้ในการก่อสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำนั้นสามารถสร้างได้ด้วยวัสดุประเภทต่างๆ เช่น คอนกรีตล้วน คอนกรีตเสริมเหล็ก ดินและหินถมอัดแน่น เป็นต้น เขื่อนเก็บกักน้ำทุกแห่งที่สร้างขึ้น จะกำหนด หรือเลือกให้เป็นเขื่อนประเภทใดนั้น ส่วนใหญ่จะต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับสภาพของฐานราก สภาพของภูมิประเทศที่เขื่อนนั้นตั้งอยู่ ตลอดจนชนิด และจำนวนของวัสดุที่จะมีให้ใช้ก่อสร้างได้ โดยเขื่อนจะต้องมีทั้งความมั่นคงแข็งแรง และมีราคาถูกที่สุด

หมายเหตุ
การใช้สันเขื่อนกระทำการในลักษณะอนาจาร ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

เขื่อนปราณบุรี ประจวบคีรีขันธ์
ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองตาแต้ม กิโลเมตรที่ 253 ห่างจากจุดปากทางเข้าถนนเพชรเกษม ประมาณ 12 กิโลเมตร และห่างจากที่ว่าการอำเภอปราณบุรี ประมาณ 20 กิโลเมตร ลักษณะเป็นเขื่อนดินสร้างปิดกั้นแม่น้ำปราณบุรี สันเขื่อนยาว 1,500 เมตร กว้าง 8 เมตร สูง 42 เมตร ภูมิประเทศเป็นหุบเขา มีทิวทัศน์ที่สวยงาม ลำน้ำทอดยาวไปในพื้นที่เพาะปลูกของอำเภอปราณบุรี อำเภอกุยบุรี และอำเภอเมือง เป็นระยะทางประมาณ 65 กิโลเมตร เป็นเขื่อนที่ส่งจ่ายน้ำให้กับเกษตรกรแถบนั้นใช้ในการทำสวนทำไร่ สันเขื่อนปิดในเวลา 16.00 น.

เขื่อนวชิราลงกรณ กาญจนบุรี
เขื่อนวชิราลงกรณเป็นเขื่อนหินถมแห่งแรกของประเทศไทย ที่ดาดผิวหน้าด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ตั้งอยู่บนแม่น้ำแควน้อย ในท้องที่ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี อยู่ห่างจากตัวอำเภอไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 6 กิโลเมตร เขื่อนวชิราลงกรณมีความสูงจากฐาน 92 เมตร สันเขื่อนกว้าง 10 เมตร ยาว 1,019 เมตร สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (รทก.) 161.75 เมตร ปริมาตรตัวเขื่อนประมาณ 8.1 ล้านลูกบาศก์เมตร สันเขื่อนปิดเวลา 18.00 น. วิวบนสันเขื่อนแห่งนี้มีความงดงามมากโดยเฉพาะในช่วงเช้าและเย็น

อ่างเก็บน้ำห้วยกระพร้อย กาญจนบุรี
เป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานไว้เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2533 เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2552 มีลักษณะเป็นเขื่อนดิน ความยาวสันเขื่อน 795 เมตร ความสูง 22.50 เมตร ความจุ 23 ล้านลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันสามารถส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่ชลประทานได้ประมาณ 7,500 ไร่ แก้ไขปัญหาภัยแล้งซ้ำซากในช่วงฤดูแล้งของประชาชนในอำเภอหนองปรือและพื้นที่ใกล้เคียง ช่วยบรรเทาอุทกภัยบริเวณพื้นที่ตอนล่างของโครงการ ในช่วงฤดูน้ำหลาก รวมทั้งเป็นแหล่งประมงน้ำจืดให้กับราษฎร และเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ถนนบนสันอ่างไม่เปิดให้รถยนต์เข้าไปบริเวณนั้น แต่รอบอ่างเก็บน้ำห้วยกระพร้อยมีวิวทิวทัศน์ที่สวยงามมาก 

อ่างเก็บน้ำมวกเหล็ก สระบุรี
มีลักษณะเป็นเขื่อนดิน ความกว้างสันเขื่อน 9.00 ม. ยาว 1,156.70 ม. สูง 43.50 ม. เก็บกักน้ำได้ 61 ล้าน ลบ.ม. พร้อมระบบส่งน้ำและระบายน้ำ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะมีพื้นที่ชลประทานได้รับประโยชน์ประมาณ 25,500 ไร่ เป็นแหล่งน้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปาได้ปีละประมาณ 202,000 ลูกบาศก์เมตร และยังสามารถส่งน้ำเพื่อเสริมให้กับพื้นที่ชลประทานของโครงการสูบน้ำแก่งคอย-บ้านหมอ ในช่วงฤดูแล้งได้ประมาณ 14,000 ไร่ อีกทั้งจะเป็นแหล่งน้ำสำหรับการเพาะปลูก ปศุสัตว์ และการอุปโภค-บริโภคของราษฎรในเขต อ.วังม่วง จ.สระบุรี นอกจากนี้ยังจะช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสัก และลุ่มน้ำเจ้าพระยาบางส่วน รวมทั้งเป็นแหล่งน้ำสำหรับการประมงและการเพาะขยายพันธุ์สัตว์น้ำ เเละพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่น สันอ่างไม่อนุญาตให้รถยนต์ขับเข้าไป ใช้วิธีการเดินเท้าเท่านั้น 

อ่างเก็บน้ำพุตะเคียน กาญจนบุรี
อ่างเก็บน้ำพุตะเคียน ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 ตำบลองค์พระ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2533 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มีพระราชกระแสรับสั่งกับ นายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการ กปร. และเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา อธิบดีกรมชลประทาน พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ ว่าได้ทรงทราบว่าพระเทพสิทธิญาณรังสี ได้ไปดำเนินการพัฒนาพื้นที่บริเวณ ตำบลหนองปรือ อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี (ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลสมเด็จเจริญ) ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนเป็นอย่างดี ขอให้เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนาไปนมัสการพระเทพสิทธิญาณรังสี เพื่อช่วยประสานสนับสนุนการดำเนินงานในโครงการดังกล่าวนี้ รวมทั้งให้กรมชลประทานดำเนินการพิจารณาก่อสร้างอ่างเก็บน้ำตามลำน้ำสาขาต่างๆ ของห้วยตะเพิน ในเขตอำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี และลำห้วยสาขาห้วยแม่ตะกึง ห้วยตะกวด ห้วยกระพร้อย และห้วยป่าไร่ เป็นต้น เพื่อหาน้ำช่วยเหลือราษฎรในเขตโครงการให้มีน้ำทำการเพาะปลูกและบริโภคได้ตลอดปี และสมควรปลูกป่าตามบริเวณของอ่างเก็บน้ำต่างๆ ที่จะทำการก่อสร้าง เป็นการฟื้นฟูสภาพต้นน้ำลำธารด้วย

วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำใช้เสริมการเพาะปลูกในฤดูฝน และการเพาะปลูกในฤดูแล้ง

2.2 เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำสำหรับอุปโภค บริโภคของราษฎร

2.3 เพื่อเป็นเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ ให้ราษฎรอุปโภค และมีรายได้จากการประมงเพิ่มเติมจากการเกษตรกรรม

2.4 เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจของราษฎรในบริเวณใกล้เคียง

2.5 เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำ บรรเทาการเกิดอุทกภัย

ระบบส่งน้ำของโครงการ เป็นคลองส่งน้ำสายใหญ่ 1 สาย ยาว 13.00 กม. และท่อแยกส่งน้ำ 51 สาย โดยส่งน้ำให้แก่พื้นที่ในเขตโครงการห้วยองคต (อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี) และอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี บางส่วนรวมพื้นที่ประมาณ 5,000 ไร่.

อาคม รวมสุวรรณ
E-Mail [email protected]
Facebook https://www.facebook.com/chang.arcom
https://www.facebook.com/ARCOM-CHANG-Thairath-Online-525369247505358