IAEA เยือนญี่ปุ่น เพื่อช่วยวางแผนปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันภาพรังสีจากโรงงานนิวเคลียร์ฟูกูชิมาลงทะเล

สำนักข่าว เจแปนทูเดย์ รายงานว่า เจ้าหน้าที่ของทบวงการพลังงานปราณูระหว่างประเทศ (IAEA) เดินทางถึงประเทศญี่ปุ่นแล้ว เพื่อช่วยเหลือเรื่องการเตรียมแผนปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีปริมาณนับล้านตัน จากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ ฟูกูชิมา-ไดอิชิ ซึ่งได้รับความเสียหายเพราะแผ่นดินไหวและสึนามิเมื่อ 10 ปีก่อน ลงทะเล00:15 / 00:16AD

ทีมเจ้าหน้าที่ 3 คนนำโดย ลีเดีย เอฟราร์ด หัวหน้าแผนกความปลอดภัยและความมั่นคงนิวเคลียร์ กำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อทบทวนแผนปล่อยน้ำปนเปื้อนดังกล่าว โดยพวกเขาจะเข้าพบกับเจ้าหน้าที่ของโตเกียว แล้วจะเดินทางไปยังโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมา เพื่อหารือทางเทคนิคกับผู้เชี่ยวชาญจนถึงวันศุกร์นี้

อนึ่ง รัฐบาลญี่ปุ่นกับบริษัท โตเกียว อิเล็กทรอนิก พาวเวอร์ หรือ เทปโก ผู้บริหารโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมา ประกาศเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ว่าพวกเขาจะเริ่มปล่อยน้ำปนเปื้อนที่กักเก็บมาตลอดในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 2566 เพื่อให้เคลื่อนย้ายแทงก์เก็บน้ำจำนวนหลายร้อยแทงก์ออกไปได้ และใช้ที่ว่าเป็นที่ตั้งสำหรับอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับปลดประจำการโรงงานแห่งนี้

ตามแผนการดังกล่าว น้ำปนเปื้อนจะถูกส่งออกไปตามท่อใต้น้ำและปล่อยออกในจุดที่ห่างจากชายฝั่งราว 1 กม. หลังจากบำบัดและเจือจางเพิ่มเติมด้วยน้ำทะเลจำนวนมากแล้ว อย่างไรก็ตาม แผนการนี้เผชิญเสียงต่อต้านอย่างหนักจากชาวประมง, ชาวบ้าน และประเทศเพื่อนบ้านของญี่ปุ่นรวมทั้ง จีนและเกาหลีใต้

“ทางสำนักงานกำลังสนับสนุนญี่ปุ่นเพื่อรับประกันว่า ปฏิบัติการทั้งหมดเพื่อปล่อยน้ำดังกล่าวในช่วงหลายทศวรรษที่จะมาถึง จะเกิดขึ้นในวิธีที่สอดคล้องกับมาตรการความปลอดภัยนานาชาติ” นาย ราฟาเอล มาริอาโน ครอสซี ผู้อำนวยการใหญ่ของ IAEA ระบุในแถลงการณ์

ทั้งนี้ เมื่อปี 2554 เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ระดับ 9.1 แมกนิจูด ในทะเลทางตะวันออกของญี่ปุ่น ทำให้เกิดคลื่นสึนามิ สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง รวมถึงเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 3 เตาของโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมา จนน้ำปนเปื้อนกัมมันภาพตรังสีรั่วไหล ซึ่งน้ำดังกล่าวถูกกักเก็บไว้ในแทงก์น้ำขนาดใหญ่จำนวนกว่า 1,000 แทงก์ และน้ำจะเพิ่มจนเต็มในช่วงปลายปีหน้า