คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย (ไททา) ร่วมกับภาคีเครือข่าย กรมวิชาการเกษตร กรมการข้าว โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช บริษัทวรุณา (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เอทีไอ เทคโนโลยีส์ จำกัด และบริษัท ไอ ซี พี เอ็กซ์ จำกัด ร่วมจัดอบรมกิจกรรม โดรน การเกษตรเพื่ออนาคต (Drone for Tomorrow) เพื่อสร้างการเรียนรู้โดรน รู้กฎระเบียบ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์โดรนเพื่อการเกษตรสู่เยาวชนและชุมชน ให้เกิดแรงจูงใจในการพัฒนาการใช้โดรนเพื่ออนาคต
รศ.ดร.สุดสายสิน แก้วเรือง รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เผยว่า เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับหรือโดรน เป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ มีความแม่นยำทางการเกษตรสูง ช่วยลดการใช้แรงงานในการผลิต ลดการใช้น้ำ อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกพืชอย่างแม่นยำ ช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของไทยได้อย่างมหาศาล โดรนมีประโยชน์มากในแง่ประสิทธิภาพ ประหยัดค่าแรง และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดรนได้รับการยอมรับในเอเชียอย่างรวดเร็วมากกว่าภูมิภาคอื่นของโลก ในขณะที่จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีเป็นผู้นำเกี่ยวกับเทคโนโลยีโดรน ใช้ในแทบทุกอุตสาหกรรมหรือทุกสายอาชีพ
“ส่วนไทยจัดเป็นประเทศอันดับต้นในเอเชียนที่ไล่ตามมาทัน จนสามารถนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมโดรนมาพัฒนาและปรับใช้เพื่อยกระดับคุณภาพความเป็นอยู่ของเกษตรกรไทยได้อย่างรวดเร็ว เป็นส่วนหนึ่งของนวัตกรรมสำหรับวันนี้ที่สำคัญต่อการทำเกษตรอย่างแม่นยำ รวมถึงเข้าไปช่วยในอุตสาหกรรมที่หลากหลายได้ ขณะนี้เราเป็นผู้นำ แต่ยังถือว่าอยู่ที่จุดเริ่มต้น ต้องการการต่อยอด การพัฒนาและการทำงานร่วมกันหลากหลายหน่วยงาน หลากหลายอาชีพ เพื่อให้รู้ถึงความเสี่ยงหากโดรนถูกจัดการอย่างไม่ถูกต้อง และต้องแน่ใจว่าการใช้โดรนในการเกษตร รวมถึงภาคการผลิต และอุตสาหกรรมอื่นจะได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง”
น.ส.เดลิสา เจียง ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืน และหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการโดรน ครอปไลฟ์แห่งเอเชีย กล่าวเพิ่มเติมว่า นวัตกรรมโดรนในการ เกษตรมีความสำคัญต่ออาชีพเกษตรกรรมในบ้าน เราอย่างมาก เนื่องจากประชากรโลกที่เติบเพิ่มขึ้น มีความต้องการอาหารที่มากขึ้น ในเวลาเดียวกันธรรมชาติก็เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สภาพ ภูมิอากาศแปรปรวน มีชีวิตในเมืองที่เพิ่มขึ้น เรา จึงเห็นพื้นที่การเกษตรน้อยลง การสูญเสียพืชผลที่เพิ่มขึ้นเนื่องด้วยปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ และการขาดแคลนแรงงาน การใช้โดรนจึงมีประโยชน์หลายประการต่อความท้าทายเหล่านี้
โดยการเรียนรู้กฎระเบียบโดรนเบื้องต้น ทำให้เราสามารถพัฒนาและเอาไปประยุกต์ใช้ให้ เกิดประโยชน์ตามความเหมาะสมได้ จากการจัดกิจกรรมดังกล่าว เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ รวมถึงวิธีการใช้โดรนอย่างถูกต้องและปลอดภัย มีการเรียนรู้ภาคสนาม แบ่งเป็น 5 ฐานการศึกษา ได้แก่ การฝึกบินโดรนเบื้องต้น การใช้โดรนอย่าง ปลอดภัย การฝึกบินด้วยเครื่องจำลองการบิน (Flight Simulators) ศักยภาพของโดรนแต่ละ ประเภท และการทดสอบประสิทธิภาพ เกษตรกร หรือบุคคลผู้สนใจ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทร.0-2579-0588 หรือ โทร.08-6042-5250 ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ https://www. facebook.com/taitacroplifethailand