องค์กรเพื่อเสรีภาพสื่อมวลชน Reporters Without Borders (รีพอร์เตอร์ส วิธเอาต์ บอร์เดอร์ส) เปิดเผยการจัดอันดับเสรีภาพสื่อมวลชนทั่วโลกประจำปี 2566 ระบุว่าสื่อมวลชนของไทยมีเสรีภาพไม่สดใสนัก แม้อันดับดีขึ้นจากปีก่อนหน้า
เสรีภาพสื่อมวลชนของไทยในปี 2566 อยู่ที่อันดับ 106 ได้คะแนน 55.24 คะแนน ซึ่งดีขึ้นจากปี 2565 ที่อันดับ 115 ที่ 50.15 คะแนน ใกล้เคียงกับประเทศกาตาร์ ที่อันดับ 105 และกรีซที่อันดับ
ตัวชี้วัด 5 ตัวหลัก ซึ่งก็คือ ด้านการเมือง เศรษฐกิจ กฎหมาย สังคม และความปลอดภัย ไทยได้คะแนนดีขึ้นทั้งหมด
สิ่งที่น่าสนใจคือ ตีโมร์-แลชต์ ซึ่งเป็นประเทศเล็กๆ ที่แยกตัวมาจากอินโดนีเซียเมื่อไม่นานมานี้้ กลับเป็นประเทศที่มีเสรีภาพมากที่สุดอันดับ 10 ของโลก ด้วยคะแนน 84.49 คะแนน
ส่วนอันดับ 2 ของทวีปเอเชีย คือ ไต้หวันที่อันดับ 35 ด้วยคะแนน 75.54 คะแนน
มาเลเซีย เป็นประเทศที่มีอันดับดีที่สุดของภูมิภาคอาเซียน ที่อันดับ 73 ของโลก ตามด้วยไทย ในอันดับ 106 และอินโดนีเซียในอันดับ 108
เสรีภาพสื่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- ตีโมร์-แลชต์ 10
- มาเลเซีย 73
- ไทย 106
- อินโดนีเซีย 108
- สิงคโปร์ 129
- ฟิลิปปินส์ 132
- บรูไน 142
- กัมพูชา 147
- ลาว 160
- เมียนมา 173
- เวียดนาม 178
ขณะเดียวกัน กลุ่มประเทศในยุโรปเหนือยังคงเป็นประเทศในอันดับต้นๆ ที่มีเสรีภาพสื่อมากที่สุด นำมาโดยนอร์เวย์ ที่ได้คะแนนถึง 95.18
รีพอร์เตอร์ส วิธเอาต์ บอร์เดอร์ส ระบุว่า กรอบกฎหมายของนอร์เวย์ให้การปกป้องเสรีภาพสื่อมวลชนอย่างมาก ส่วนตลาดสื่อมวลชนเองก็มีชีวิตชีวา โดยเฉพาะสื่อสาธารณะที่เข้มแข็งและภาคเอกชนที่หลากหลายที่ยึดมั่นในอิสระของกองบรรณาธิการ
10 อันดับเสรีภาพสื่อสูงสุด
- นอร์เวย์
- ไอร์แลนด์
- เดนมาร์ก
- สวีเดน
- ฟินแลนด์
- เนเธอร์แลนด์
- ลิทัวเนีย
- เอสโตเนีย
- โปรตุเกส
- ตีโมร์-แลชต์
สถานการณ์เหล่านี้ต่างจากประเทศกลุ่มอำนาจนิยมที่ควบคุมสื่อมวลชนอย่างหนัก ซึ่งเกาหลีเหนืออยู่ในอันดับท้ายสุดของตาราง 180 ประเทศ ตามมาด้วย จีน เวียดนาม และอิหร่าน
10 อันดับชาติไร้เสรีภาพสื่อ
- เกาหลีเหนือ
- จีน
- เวียดนาม
- อิหร่าน
- เติร์กเมนิสถาน
- ซีเรีย
- เอริเทรีย
- เมียนมา
- คิวบา
- บาห์เรน